มหาวิทยาลัยพะเยา มีนโยบายสนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ป่าไม้และที่ดินอย่างยั่งยืน เช่น นโยบาย Green University ที่มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และเข้าร่วมการจัดอันดับ UI Green metric world university ranking , สนับสนุนการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.), การสนับสนุนการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนิสิต

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

     เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพภายในมหาวิทยาลัยและจังหวัดพะเยา รวมไปถึงปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรัพยากรธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

โครงการบวชต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ป่า อนุรักษ์น้ำ

     เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ด้วยจิตอาสา โดยชุมชนที่อยู่ติดป่าได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รวมถึงประสัมพันธ์ให้สังคมได้รับรู้ และเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้

เข้ารับมอบโล่เกียรติคุณตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับประเทศ

     หน่วยงานที่ผ่านการรับรองสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) โดยการตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานอย่างรู้คุณค่า และมีการจัดการ ของเสียหรือมลพิษอย่างถูกต้อง


ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา


     ในปี พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตรและความอยู่รอดของมนุษยชาติ เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเพื่อขยายผลการน้อมนำแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เพื่อศึกษา ทดลอง วิจัยและพัฒนา ให้บริการทางวิชาการ อบรม ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร รวมถึงเป็นสถานที่ปฏิบัติภาคสนาม ฝึกปฏิบัติงานของนิสิต นักศึกษา และบุคคลภายนอกให้เกิดทักษะในด้านการทำเกษตร


โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยพะเยา (อพ.สธ.)

     การดำเนินงานผ่านโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ที่สอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะรักษาและขยายความหลากหลายของระบบนิเวศภายในมหาวิทยาลัย พื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย และในชุมชนท้องถิ่น ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยได้ดำเนินงานมาแล้วมากกว่า 6 ปี โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ศึกษา วิจัย อนุรักษ์พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ รวมไปถึงพืชและสัตว์ที่อยู่ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็น (IUCN Red List) ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และทรัพยากรธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญา



ปลูกป่าปล่อยเค่า คืนสู่ป่าต้นน้ำ

     ปล่อยอึ่งเพ้า (เค่า) ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้ถูกคุกคาม คืนสู่ธรรมชาติ ในอ่างเก็บน้ำชุมชน ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิง เชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน

สร้างฝายละชอน้ำ บ้านร่องปอ

     การสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อช่วยชะลอการไหลเวียนของน้ำในช่วงฤดูแล้ง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

     มหาวิทยาลัยส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ทั้งพืชและสัตว์ โดยจัดเป็นโปรแกรมการศึกษา ตลอดจนพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ

     จากนกยูงสู่นิทรรศการนกยูงไทย การอนุรักษ์สู่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพะเยา จัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย (Green Peafowl learning Center) เพื่อเป็นแหล่งพื้นที่ศึกษาอนุรักษ์นกยูงไทย รวมถึงเป็นพื้นที่ศึกษาและส่งเสริมงานวิจัย ตลอดจนบริการวิชาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานประชุมวิชาเพื่อผลักดันต้นแบบการอนุรักษ์นกยูงไทยสู่ระดับโลก ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจศึกษาเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

     นโยบายในการจัดตั้งศูนย์นกยูงตอบโจทย์ปณิธานมหาวิทยาลัยพะเยา “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” โดยขับเคลื่อนฟันเฟืองภาระกิจหลักทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้าน การอนุรักษ์นกยูงและอนุรักษ์ป่า ในด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรักษ์นกยูงไทย ด้านการบูรณาการเรียนการสอนกับการอนุรักษ์นกยูง และด้านการส่งเสริมการวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม

ภาพ: เครือข่ายชมชุมรักษ์นกยูงไทย ล้านนา


     ความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น มหาวิทยาลัยร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอแม่ใจอย่างยั่งยืน ในพื้นที่หนองเล็งทราย 5,563 ไร่ โดยมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายใต้ Motto อเมซอนหนองเล็งทราย “ชมควายพันตัว ชมบัวพันไร่ ชมป่าไคร้พันปี”

     มหาวิทยาลัยพะเยา สนับสนุน ส่งเสริม โปรแกรมการศึกษาการบริหารจัดการความยั่งยืนเพื่อการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ผ่านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และโครงการวิจัยต่างๆ

บางกอกน้อย โมเดล

     บางกอกน้อย โมเดล เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวในเขตบางกอกน้อย เพื่อเชื่อมโยง/บูรณาการกับงานวิจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยผ่านโครงการวิจัย 1 คณะ 1 สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร


ปลูกข้าว-เอาแป้ง-มาแปรรูป

     กิจกรรม เกี่ยวข้าว-เอาแป้ง-มาแปรรูป เป็นกิจกรรมหนึ่งของกระบวนวิชาเคมีอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตร ของคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดวิสัยทัศน์ให้กับนิสิต และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่าย ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน


ระเบียงวัฒนธรรมกว๊านพะเยา

     การจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมในชุมชนของตน และนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านโครงการวิจัยระเบียงวัฒนธรรมกว๊านพะเยา: สร้างคุณค่าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานวัฒนธรรม


โครงการกฎหมายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP

     การเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญา การจ้างงานและการดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งของชุมชน

A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'php_mysql.dll' (tried: C:\Program Files (x86)\PHP\v7.2\ext\php_mysql.dll (The specified module could not be found.), C:\Program Files (x86)\PHP\v7.2\ext\php_php_mysql.dll.dll (The specified module could not be found.))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: