มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยมีมาตรการที่เปิดโอกาสให้บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิ์ในการเสนอชื่อ ลงคะแนนเสียง เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการหรือตัวแทนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในทุกระดับ ตั้งแต่ในระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารในระดับคณะ และตัวแทนนิสิต โดยผู้คณะกรรมการ ดังนี้


การเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในระดับมหาวิทยาลัย

การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยพะเยา

การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา

การเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในระดับคณะ/วิทยาลัย

การเลือกตั้งตัวแทนของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนเพื่อดำรงตำแหน่งสภาพนักงาน

          มหาวิทยาลัย โดยทำหน้าที่ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากร เพื่อเสนอข้อคิดเห็นและสะท้อนความต้องการของบุคลากรต่ออธิการบดี เพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของบุคลากร เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากรสายวิชาการและสายบริการ เพื่อดำเนินการตามนโยบายและพันธกิจที่ได้รับหมายจากอธิการบดี


การเลือกตั้งตัวแทนคณะกรรมการในระดับนิสิต

     การเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทยและสังคมโลก ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวในการทำงาน โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้เกิดการประสานงานกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการจัดเวทีสาธารณะ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทั้งระหว่างผู้บริหาร บุคลากร และนิสิต อาทิเช่น การจัดเวทีเสียงสะท้อนจากนิสิตในระดับมหาวิทยาลัย การจัดเวทีเสียงสะท้อนจากนิสิตในระดับคณะ ทั้งยังเปิดโอกาสให้นิสิตรวมตัวเพื่อจัดตั้งชมรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย


     ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง ระบบการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายให้ภาคประชาชน หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในทุกพันธกิจ ทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ การบริการวิชาการ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสังคม การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อความเป็นไทย การบริหารงานทันสมัยด้วยธรรมาภิบาล โดยการมอบหมายให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ประสานการดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมร่วมกัน การประเมินผลการดำเนินงาน การประเมินความพึงพอใจ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้ให้ข้อมูลในด้านต่าง ๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปของการจัดเวทีการเสวนา หรือการเชิญตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินงานในแต่ละด้าน อาทิเช่น ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านกิจกรรม สวัสดิการและบริการนิสิต ด้านการวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยและคณะ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำ ขยะ หมอกควัน ไฟป่า ความปลอดภัยการจราจรทั้งภายในและโดยรอบมหาวิทยาลัย

ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา

     ตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง ระบบการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้หน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้

กิจกรรมของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาทักษะทางกฎหมาย

จัดเวทีรายงานผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนบูรณาการโครงการวิจัย “การบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงเชิงบูรณาการ เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน

คลินิกกฎหมาย เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมาย/เผยแพร่ความรู้กฏหมายให้แก่นิสิต บุคลากรในมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและกำกับติดตามเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา

การประชุมและร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุมโครงการ "การบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยาและลุ่มน้ำอิงเชิงบูรณาการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน"

     ในปี 2019 มหาวิทยาลัยพะเยา โดย อธิการบดี ได้ประกาศเจตนารมณ์สุจริตในการบริหารงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้วยความเป็นธรรม ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบ และสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้ พร้อมรับผิดชอบหากการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชน รวมทั้งต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ตลอดจนร่วมสร้างวัฒนธรรมให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


ระดับคณะ/กอง

ประกาศการจัดซื้อจัดจ้างส่วนกลาง (มหาวิทยาลัย/คณะ/กอง)

     ด้วยบริบทของสังคมไทยและสังคมโลกที่เปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยจึงปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรการดังต่อไปนี้
     มาตรการ 1 จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมวิชาการ Academic excellence รองรับการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป ส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาอาจารย์ใช้ความรู้และทักษะที่หลากหลายในการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามทักษะศตวรรษที่ 21 ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งทักษะการเรียนรู้และทักษะการทำงาน
     มาตรการ 2 จับคู่ความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตกับหน่วยงานเอกชน หรือองค์กรภาครัฐอื่น ๆ ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียน กับการทำงานและการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ เน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์และการทํางานหลายรูปแบบ (Work-education experiences) รวมถึงทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทํางานกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม รวมทั้งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นการเสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทํางาน (Employability)
     มาตรการ 3 จัดการดิจิทัลเป็นพื้นฐานเพื่อให้ผู้สอนได้พัฒนารูปแบบการสอนที่หลากหลายและผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้สะดวกและง่ายขึ้น พัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ Learning Management System (LMS) การพัฒนาการจัดทํา Online course และการเรียนออนไลน์ของนิสิตให้เต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนด้วยตนเองได้ง่ายขึ้นและอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดที่ทันสมัยมีชีวิต เอื้อให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนรู้ และเป็นศูนย์ทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ (Resource center)

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยา
Paper Camp
Show and share


     มหาวิทยาลัยมีการจัดทำรายงานงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายใน และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี เพื่อนำเสนอต่อบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และมีการเผยแพร่งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบนเว็บไซต์กองคลัง