มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมตอบรับโจทย์โครงการพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาของไทย (Reinventing University System) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งกำหนดบทบาทของมหาวิทยาลัยให้อยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based and Community) และตอบสนองวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมชน สู่สากล โดยได้เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Times Higher Education University Impact Rankings ด้วยผลการดำเนินงานในปี 2562 ตามตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Goals : SDG) ขององค์การสหประชาชาติ

     ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยพะเยา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้มุ่งเน้นการให้การศึกษา ส่งเสริม และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน และทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย เช่น ยุทธศาสตร์การเตรียมคนและเสริมสร้างศักยภาพคน ที่ตอบโจทย์ SDG4 การศึกษาที่เท่าเทียม ได้มีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาได้มีโอกาสเรียนต่อในมหาวิทยาลัย หรือยุทธศาสตร์การบริหารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ที่ตอบโจทย์ SDG16 ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการเพิ่มเครือข่ายในการขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมคุณธรรมอย่างยั่งยืน

MOU ทางวิชาการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาให้มีความพร้อมในการขยายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษา

MOU การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในหน่วยงานภาครัฐ

เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่นักศึกษาและกิจกรรมอื่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิชาการและกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ที่นำไปสู่การต่อต้านการทุจริตเพื่อให้เกิดสังคมที่เข้มแข็ง

MOU ทางวิชาการด้านการบริหารการพัฒนาสังคมและด้านการวิจัย

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม เปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 12 สถาบัน พัฒนาศักยภาพทางวิชาการ งานวิจัย และการจัดกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ

MOU ทางวิชาการและงานวิจัยร่วมกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และความชำนาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร ยกระดับการศึกษา รวมถึงทักษะเชิงวิชาการ และส่งเสริมงานวิจัย

MOU ความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพร่วมกับกรมสุขภาพจิต

ร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพให้เพียงพอ และมีความพร้อมด้วยคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

     มหาวิทยาลัยพะเยา ริเริ่มและการร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการพัฒนาชุมชน ผ่านการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่สู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (Area based and Community Engagement)” จากฐานการทำงานโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล จนถึงปัจจุบันได้มีการยกระดับความสำเร็จดังกล่าวสู่โครงการ “1 คณะ 1 สัญลักษณ์ความสำเร็จ” และเป้าหมายต่อไปคือการต่อยอดสัญลักษณ์ความสำเร็จ สู่การเป็น “ชุมชนนวัตกรรม” ในพื้นที่จังหวัดพะเยาทั้ง 9 อำเภอ โดยความร่วมมือของ นิสิต บุคลากรในมหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน

ความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่

ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ


ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม



ความร่วมมือด้านการศึกษา




MOU ไทย - นิวซีแลนด์ – อเมริกา

เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระดับนักเรียนมัธยมศึกษาเพื่อประโยชน์ร่วมกันของ 3 ประเทศ

     มหาวิทยาลัยพะเยา เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นสากลหรือนานาชาติ ผ่านการเชื่อมโยงด้วยกระบวนการทางวิจัยด้านต่าง ๆ ร่วมกับนานาประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน โดยได้หาแนวทางความร่วมมือกับวิทยาลัยในประเทศจีน เชื่อมโยงกับเส้นทาง Belt and Road Initiative (BRI) หรือโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ของประเทศจีน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมด้านความมั่นคงชายแดนให้มีประสิทธิภาพ

     มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organizations : NGOs) เพื่อการจัดการ SDGs โดยมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของโครงการอาสาสมัครของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โครงการวิจัยหรือพัฒนา ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลทางการศึกษา

A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'php_mysql.dll' (tried: C:\Program Files (x86)\PHP\v7.2\ext\php_mysql.dll (The specified module could not be found.), C:\Program Files (x86)\PHP\v7.2\ext\php_php_mysql.dll.dll (The specified module could not be found.))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: